เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week2

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เข้าใจและสามารถนำความสัมพันธ์เรื่องอัตราส่วนมาใช้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
2-6
พ.ย.58

โจทย์ : การเทียบบัญญัติไตรยางศ์

คำถาม  
- จากโจทย์ที่วิเคราะห์นักเรียนคิดว่าจะใช้ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนเพื่อหาคำตอบในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้อย่างไร
- จำนวนตุ๊กตา" และ "จำนวนเงิน" มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
- ปากกา 5 ด้ามราคา 30 บาท ต้องการซื้อ ปากกา 14 ด้ามเป็นเงินกี่บาท


เครื่องมือคิด
 Show and Share

- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตราส่วนกับการหาคำตอบด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
- เปรียบเทียบและอธิบายความสัมพันธ์ของโจทย์คำถาม

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน


สื่อ / อุปกรณ์  

- โจทย์ปัญหา เช่น
ซื้อตุ๊กตา 2 ตัว จ่ายเงิน 200 บาท 

ซื้อตุ๊กตา 1 ตัว จ่ายเงิน 100 บาท 
ซื้อตุ๊กตา 4 ตัว จ่ายเงิน 400 บาท

สื่อจริง
 *ไข่ไก่  ปลา  ปากกา  หนังสือ  ถุงเท้า
 * 50 บ.  100 บ.  120 บ. 250 บ.
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนรวมกันทบทวนอัตราส่วนที่เท่ากันและอัตราส่วนต่อเนื่อง
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ปากกา 5 ด้ามราคา 30 บาท ต้องการซื้อ ปากกา 14 ด้ามเป็นเงินกี่บาท?” และ เงาะ 4 กิโลกรัม เป็นเงิน 84 บาท อยากซื้อเงาะ 15 กิโลกรัมคิดเป็นเงินกี่บาท?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์และนำเสนอความคิดเห็นและวิธีคิด
ใช้ : ครูเปิด โจทย์ จาก Power point  ให้นักเรียนได้ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึก
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูกำหนดสิ่งของและจำนวนเงิน ดังนี้
   *** ไข่ไก่  ปลา  ปากกา  หนังสือ  ถุงเท้า
   ***  50 บ.  100 บ.  120 บ. 250 บ.
เชื่อม : นักเรียนออกแบบโจทย์และแสดงวิธีคิดจากจำนวนเงินและและสิ่งของที่กำหนด ลงในกระดาษ A4
.ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ที่ได้ออกแบบพร้อมกระบวนการคิด
วันพุธ 1 ชั่วโมง
***การคิด***
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูกำหนดโจทย์และใช้คำถามกระตุ้นการคิด
ซื้อตุ๊กตา 2 ตัว จ่ายเงิน 200 บาท 

ซื้อตุ๊กตา 1 ตัว จ่ายเงิน 100 บาท 
ซื้อตุ๊กตา 4 ตัว จ่ายเงิน 400 บาท

จำนวนตุ๊กตา" และ "จำนวนเงิน" มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : ครูกำหนดโจทย์ ให้นักเรียน จำนวน  4 ข้อ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
ตัวอย่างโจทย์
** แม่ค้าขายมะละกอ 10  ผล ในราคา 50 บาท ถ้าขายมะละกอ 75 ผล แม่ค้าจะขายในราคาเท่าใด
** นิคม ซื้อถังน้ำจำนวน 10 ใบ ในราคา 185 บาท ถ้านิคม  มีเงิน 550 จะซื้อถังน้ำได้กี่ถัง และได้รับเงินทอนกี่บาท ?
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกระบวนการคิดจากโจทย์เมื่อชั่วโมงที่แล้ว
ใช้ : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และกระบวนการคิดลงในสมุดบันทึก

ภาระงาน

- วิเคราะห์โจทย์ปัญหาและนำเสนอกระบวนการคิด

- ออกแบบโจทย์จากสื่อจริงพร้อมนำเสนอกระบวนสร้างโจทย์และกระบวนการคิด


ชิ้นงาน
- สมุดบันทึก (แสดงการวิเคราะห์และกระบวนการคิด)

- โจทย์และกระบวนการคิดจากสื่อจริง

ความรู้
เข้าใจและสามารถนำความสัมพันธ์เรื่องอัตราส่วนมาใช้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะการให้เหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน



ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้







ตัวอย่างชิ้นงาน       




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาต่างๆด้วยวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ แต่ก่อนที่เป็นการใช้วิธีนี้ ครูน้ำผึ้งได้ให้พี่ๆ ลองหาวิธีด้วยตนเองก่อน ซึ่งได้นำโจทย์มาให้พี่ได้ร่วมวิเคราะห์ ดังนี้ ปากกา 5 ด้ามราคา 30 บาท ต้องการซื้อ ปากกา 14 ด้ามเป็นเงินกี่บาท?” เวลาผ่านไปสักครู่ พี่ ป.5 และคุณครูก็ได้ร่วมแชร์วิธีคิดกัน เราได้ทั้งหมด 3 วิธีค่ะ วิธีแรกคือการเขียนเป็นอัตราส่วนก่อน ระหว่าง ราคา กับ จำนวนปากกา แล้วค่อยนำมาหาอัตราส่วนที่เท่ากัน ซึ่งวิธีนี้ พี่ๆ ได้เห็นความเชื่อมโยงของอัตราส่วนที่ได้เรียนผ่านมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วิธีที่ 2 เป็นวิธีของแต่ละคนที่คิด (เหมือนกันบ้างบางคน) เป็นการคิดแบบวาดภาพ พร้อมแบ่ง(หาร) นั้นเอง
    และวิธีที่ 3 คือวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ วิธีนี้คุณครูช่วยจัดระบบข้อมูลค่ะ เริ่มจากวิเคราะห์โจทย์ก่อน และค่อยนำมาคิดปริมาณหรือจำนวนสิ่งต่างๆที่โจทย์ให้มา เพื่อเทียบกับ 1 ซึ่งง่ายต่อความเข้าใจมาก หลังจากนั้น คุณครูก็ลองให้พี่ๆ วิเคราะห์โจทย์ต่างๆ เอง พร้อมนำมาแชร์ร่วมกัน ทุกคนสนุกสนานมกกับการคิด พี่วิว พี่หยี ก็ช่วยกันคิด ผิดบ้างถูกบ้างว่ากันไปตามเรื่องค่ะ แต่สัปดาห์นี้ ทุกคน เข้าใจในระดับหนึ่ง ซึ่งคุณครูใช่วิธการอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ต่างๆ ทั้ง พาทำ ทำให้ดู และลองทำเอง ปิดท้ายสัปดาห์นี่ คุณครูได้ลองกำหนด สิ่งของและจำนวนเงินให้พี่ๆแต่ละคน หลังจากนั้นก็ให้ออกแบบโจทย์ และแสดงวิธีคิดเอง เพื่อเพิ่มความเข้าใจค่ะ

    ตอบลบ