เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกับร้อยละ ตลอดจนสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
4
16-20
พ.ย.58
|
โจทย์ : อัตราส่วนกับร้อยละ
คำถาม
- จากข้อความ “ชมพู่ในตะกร้า จำนวน 100 ลูก เน่าเสียไปจำนวน 20 ลูก ของชมพูทั้งหมด” นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่า 50 % สามารถเขียนเป็นอัตราส่วนได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าเรา อัตราส่วน 50 : 100 คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
เครื่องมือคิด Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตราส่วนกับร้อยละ
สื่อ / อุปกรณ์
- ข้อความต้นเรื่องเพื่อวิเคราะห์ที่มาของ อัตราส่วน ร้อยละและเปอร์เซ็นต์
- โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละและอัตราส่วน
- อุปกรณ์สำหรับประดิษฐ์กระถางดอกไม้กระดาษ
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูเปิด ข้อความจาก Power point นักเรียนต่อไปนี้
**ชมพู่ในตะกร้า จำนวน 100 ลูก เน่าเสียไปจำนวน 20 ลูก ของชมพูทั้งหมด
**ธิดาขายพวงมาลัย ได้ 30 พวงจากพวงมาลัย จำนวน 100 พวง
**ออโต้อ่านหนังสือได้ 37 หน้า จากทั้งหมด 100 หน้า
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากข้อความที่อ่าน นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นจากข้อความ
ใช้ : ครูและนักเรียนร่วมวิเคราะห์โจทย์และหาคำตอบพร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึก
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูกำหนดข้อความดังนี้
**นักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวน 100 คน 2 ใน 3 ของนักเรียนทั้งหมด นับถือ ศาสนาพุทธ
**3 ใน 5 ของผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน เป็นโรคความดัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากข้อความที่อ่าน นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า
ร้อยละ 50 , 50 % , 50 : 100 และ
![]()
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูกำหนดโจทย์ดังนี้ “บริษัทนอกกะลา ผลิตหนังสือทั้งหมด 160 เล่ม เป็นหนังสือจิตศึกษา 40 เล่ม อยากทราบว่ามีหนังสือจิตศึกษา ร้อยละเท่าไรของหนังสือทั้งหมด”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและกระบวนคิด
วันพุธ 1 ชั่วโมง
***การคิด***
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูกำหนดโจทย์ ดังนี้ “ป้าใจซื้อเตารีดมาในราคา 1,500 บาท ขายไป 1,800 บาท ป้าใจได้กำไรกี่บาทคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและหาคำตอบร่วมกัน
ใช้ : ครูแจกใบงานเกี่ยวกับการหาร้อยละ และอัตราส่วนให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนวิเคราะห์โจทย์และแสดงความคิดเห็น พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึก
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์และแสดงกระบวนการคิดเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนและร้อยละลงในสมุดบันทึก
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำโจทย์ที่ออกแบบมาร่วมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและครูเพื่อถ่ายทอดความเข้าใจพร้อมสรุปในรูปแบบกระถางดอกไม้กระดาษ
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
|
ภาระงาน- วิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นจากข้อความ
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ
ร้อยละ อัตราส่วนและเศษส่วน
- วิเคราะห์และออกแบบโจทย์เกี่ยวกับอัตราส่วนและร้อยละ และถ่ายทอดในรูปแบบ กระถางดอกไม้กระดาษ
ชิ้นงาน- สมุดบันทึก (แสดงการวิเคราะห์และกระบวนการคิด)
- กระถางดอกไม้กระดาษ อัตราส่วนที่และร้อยละ
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนกับร้อยละ ตลอดจนสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะการให้เหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรีนยรู้



ตัวอย่างใบงาน



บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสำหรับสัปดาห์นี้ครูน้ำผึ้งได้พาพี่ ป. 5 เรียนรู้เกี่ยวกับร้อยละ (เปอร์เซ็นต์) ซึ่งเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ประโยคจาก Power point ที่ได้เตรียมมาซึ่งมีประโยค เกี่ยวกับ อัตราส่วน เศษส่วนและร้อยละ ซึ่งทุกคนมีความเข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของประโยคเหล่านี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ชมพู่ในตะกร้า จำนวน 100 ลูก เน่าเสียไปจำนวน 20 ลูก ของชมพูทั้งหมด **ธิดาขายพวงมาลัย ได้ 30 พวงจากพวงมาลัย จำนวน 100 พวง **ออโต้อ่านหนังสือได้ 37 หน้า จากทั้งหมด 100 หน้า โดยกิจกรรมนี้คุณครูใช้คำถามกระตุ้นความคิดว่า สามารถเขียนออกมาในรูป อัตราส่วนได้อย่างไร? สามารถเขียนออกมาในรูปแบบเศษส่วนและร้อยละได้อย่างไร?
หลังจากกิจกรรมนี้ เราได้ร่วมกันวิเคราะห์โจทย์เกี่ยวกับรอยละ โดยคุณครูได้นำเรื่องของกำไรเข้ามาเรียนร่วมด้วย เพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการคิดกำไร และเปอร์เซ็นต์ที่ควบคู่กัน ตัวอย่างโจทย์เช่น “บริษัทนอกกะลา ผลิตหนังสือทั้งหมด 160 เล่ม เป็นหนังสือจิตศึกษา 40 เล่ม อยากทราบว่ามีหนังสือจิตศึกษา ร้อยละเท่าไรของหนังสือทั้งหมด?” พี่ๆได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการคิด และออกมานำเนอให้เพื่อนได้ร่วมเรียนรู้ นอกจากนี้ก็เป็นการลองทำโจทย์ต่างๆ เกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ กำไรต่างๆ รวมถึงออกแบบโจทย์ จากสิ่งที่ครูกำหนดให้เพื่อเพิ่มความเข้าใจค่ะ