เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์
: เข้าใจและสามารถนำความสัมพันธ์เรื่องอัตราส่วนมาใช้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
9-13
พ.ย.58
|
โจทย์
: การเทียบบัญญัติไตรยางศ์
คำถาม
- จากโจทย์ที่วิเคราะห์นักเรียนคิดว่าจะใช้ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนเพื่อหาคำตอบในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้อย่างไร
- ชาวนา 5 คนช่วยกันปลูกข้าว 1 ไร่ ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถ้าชาวนามางานเพิ่มอีก 2
คนจะใช้เวลาเท่าใด?
เครื่องมือคิด Show and Share
-
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตราส่วนกับการหาคำตอบด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
- เปรียบเทียบและอธิบายความสัมพันธ์ของโจทย์คำถาม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู /
นักเรียน
สื่อ / อุปกรณ์
- โจทย์ปัญหา เช่น รถไถจํานวน 5 คัน ร่วมกันทํางาน
ในเวลา 6 วันทํางานได้ 40 ไร่
เพื่อให้สามารถ ทํางานได้เร็วขึ้น จึงเพิ่มขึ้น
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนรวมกันทบทวนอัตราส่วนที่เท่ากันและอัตราส่วนต่อเนื่อง
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“ชาวนา 5 คนช่วยกันปลูกข้าว 1
ไร่ ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถ้าชาวนามางานเพิ่มอีก
2 คนจะใช้เวลาเท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์และนำเสนอความคิดเห็นและวิธีคิด
ใช้
: ครูเปิด โจทย์ จาก Power
point ให้นักเรียนได้ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น
พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึก
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “รถไถจํานวน
5 คัน ร่วมกันทํางาน ในเวลา 6 วันทํางานได้
40 ไร่ เพื่อให้สามารถ ทํางานได้เร็วขึ้น จึงเพิ่มขึ้น
เป็น 10 คัน ถามว่า จะทํางานได้ 80 ไร่ภายในกี่วัน?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์และนำเสนอความคิดเห็นและวิธีคิด
.ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ที่ได้ออกแบบกระบวนการคิด
วันพุธ 1 ชั่วโมง
***การคิด***
วันพฤหัสบดี 1
ชั่วโมง
ชง : ครูกำหนดโจทย์และใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“คนกลุ่มหนึ่งกินข้าวหนึ่งถุงหมดในเวลา 6 วัน
ถ้าเดิมคนส่วนหนึ่งออกจากกลุ่มไป 3 คน เหลือเพียง 9 คนจะกินข้าวหนึ่งถุงหมดในเวลากี่วัน”?
เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการคิด
ใช้ : ครู แจกใบงานเกี่ยวกับการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตรงและแบบผกผันให้นักเรียนได้ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม
: ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยกระบวนการคิดจากโจทย์จากใบงาน
ใช้
: ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และกระบวนการคิดลงในสมุดบันทึก
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหาและนำเสนอกระบวนการคิด
-
ชิ้นงาน - สมุดบันทึก (แสดงการวิเคราะห์และกระบวนการคิด)
- ใบงาน
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถนำความสัมพันธ์เรื่องอัตราส่วนมาใช้วิเคราะห์โจทย์ปัญหาในรูปแบบการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
ทักษะการให้เหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการเห็นแบบรูป
(Pattern)
ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้







ตัวอย่างใบงาน
ตัวอย่างชิ้นงาน
- ประมวลความเข้าใจ และถ่ายทอดกระบวนการคิด






- ตัวอย่างใบงาน



บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบในสัปดาห์นี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งคุณครูได้ต่อยอดกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีเทียบบัญญัติไตรยางศ์ จากเดิม ในรูปแบบที่สามารถหาคำตอบได้แบบง่ายและตรงไปตรงมา ยกตัวอย่างโจทย์ เช่น เงาะ 4 กิโลกรัม เป็นเงิน 84 บาท อยากซื้อเงาะ 15 กิโลกรัมคิดเป็นเงินกี่บาท?” เป็นการแก้ปัญหาโจทย์ที่มีความผกผันและซับซ้อนมากขึ้น เช่น “ชาวนา 5 คนช่วยกันปลูกข้าว 1 ไร่ ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถ้าชาวนามางานเพิ่มอีก 2 คนจะใช้เวลาเท่าใด?”
พร้อมทั้งสัปดาห์นี้คุณครูและพี่ๆ ป.5 ได้เน้นกิจกรรมไปที่การแก้ปัญหาโจทย์และการนำเสนอความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อเพิ่มทักษะการนำเสนอและการพูดโดยใช้หลักการทางเหตุผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นขั้นตอนที่ผ่านมา อีกทั้งช่วงปลายสัปดาห์คุณครูได้ให้พี่ๆลองทำใบงานเกี่ยวกับการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ และประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ในรูปแบบของการวิเคราะห์โจทย์ที่ผ่านมาซ้ำอีกครั้งพร้อมนำเสนอในห้องเรียน